วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


การซ่อมแซม Windows XP แบบไม่ต้องลงวินโดร์ใหม่
ถ้า วินโดวส์มีป้ญหาไม่สามารถบู๊ตขึ้นภาพ Windows XP คุณๆจะมีวิธีของตนเอง เช่น เอาไฟล์ที่ ghost ไว้มาใช้ แต่ก็ปัญหาคือ ไฟล์ที่ได้ไม่ใช่ข้อมูลปัจุบัน หรือ format ลงวินโดวส์ใหม่ชึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีเลยต้องลงโปรแกรมใหม่เป็นสิบตัว ยังต้องเสียเวลา Crack อีก ข้อมูลที่คุณทำไว้ก็หายหมด ผมมีวิธีการกู้แบบง่ายๆ ไปหาวิธีแบบยาก แล้วแต่เหตุการณ์ และสาเหตุ

เทคนิคที่ 1 กู้แบบง่ายๆ 
-สาเหตุ : ปกติคุณๆ มักชอบติดตั้งโปรแกรมใหม่ๆ เพิ่มเติม ผลปรากฎว่าเมื่อติดตั้งแล้วพอบู๊ตใหม่กลับบู๊ตไม่ขึ้น สาเหตูอาจมาจากโปรแกรมที่ติดใหม่ ติดตั้งไฟล์ระบบตัวเก่าทับตัวใหม่ ทำให้วินโดวส์ไม่รู้จักไฟล์ระบบ เลยทำให้เกิดหน้าจอดำค้างไม่บู๊ตเข้าหน้าจอเดสก์ทอป
-วิธีแก้ไข : อาจจะใช้วิธี System Restore ใน Safe Mode โดยกดปุ่ม F8 ค้างไว้ ขณะบู๊ตเครื่องใหม่ แล้วเลือกไปที่หัวข้อ Safet Mode กู้วันที่ย้อนหลังครั้งล่าสุดที่ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม หรือจะให้สะดวกกว่านี้ก็ให้เลือกหัวข้อ  Last Know Good Configuration ก็จะกู้ระบบครั้งล่าสุดให้ทันที ทำให้บู๊ตเข้าวินโดว์ส ได้ตามเดิม

เทคนิคที่ 2 ซ่อมวินโดวส์ ด้วยแผ่นบู๊ต Boot CD Rom

-สาเหตุ : ปัญหานี้ส่วนใหญ่ สืบเนื่องจากการติดตั้ง Patch file ตัวใหม่ๆ แล้วไม่สามารถรองรับไฟล์ระบบของวินโดวส์หรือก็อปปี๊ไฟล์ .dll, .vdx, .inf ผิดเวอร์ชั่น หรือเผลอลบไฟล์ระบบบางตัว ก็เป็นสาเหตุได้ ฉะนั้นหากแก้ด้วยวิธีที 1,2 ไม่หาย ก็ต้องใช้วิธีที่ 3 ซ่อมแซมไฟล์ระบบใหม่ แทนที่จะเสียเวลาติดตั้งใหม่ วิธีนี้ก็จะช่วยย่นเวลาให้น้อยลง

-วิธีแก้ไข : เตรียมแผ่นบู๊ต CD Windows (แผ่นติดตั้งวินโดวส์) ใส่ใน CD-ROM แล้วบู๊ตเครื่องใหม่ จากนั้นทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.  เมื่อเข้าหน้าจอ Windows to Setup หน้าแรก ให้คุณกด Enter ผ่านขั้นตอนนี้ไป
2.  จากนั้นก็จะเข้าหน้าจอ windows XP Lincesing Agreement หน้าที่สอง กดปุ่ม F8 เพื่อยอมรับการติดตั้งใหม่
3.  เมื่อเข้าหน้าจอการติดตั้ง Windows XP Pro..Setup เลือกไดรฟ์ที่ติดตั้ง แล้วกดตัว R เพื่อซ่อมแซ่มไฟล์ที่สูญหายให้กลับคืนมาดังเดิม เมือเสร็จสิ้นการติดตั้งโปรแกรมต่างๆที่ติดตั้งไปก็ยังคงใช้ได้เหมือนเดิม ไม่ต้องติดตั้งใหม่ให้เสียเวลา

ปล. สำหรับผู้ที่ใช้ Harddisk แบบ SATA ในตอนบู๊ตแผ่นติดตั้ง Windows ให้กด F6 เพื่อติดตั้งไดรว์เวอร์ SATA ก่อนเข้าขั้นตอนที่ 1 ด้วยนะครับ ไม่เช่นนั้นวินโดวส์จะมองไม่เห็น Harddisk

เทคนิคที่ 3 ซ่อมแซม File

เมื่อถึงคราวที่วินโดว์ของคุณเกิดทำงานผิดพลาดบ่อยครั้ง  อันเนื่องมาจากไฟล์ของระบบเสียหาย คุณสามารถติดตั้งเฉพาะตัวโปรแกรมวินโดว์ใหม่โดยไม่จำ เป็นต้องฟอร์แมตแล้วลงวินโดว์และติดตั้งโปรแกรมอื่นๆ เข้าไปใหม่ให้เสียเวลานอกจากนี้คุณยังไม่ต้อง มานั่งปรับตั้งค่าการทำงานต่างๆ ใหม่อีกครั้งแต่อย่างใดด้วย

1. เปิดเครื่องบู๊ตเข้าสู่วินโดว์ตามปกติ
2. นำแผ่น Setup CD ของวินโดว์ใส่ลงในไดร์ฟซีดีรอม
3. คลิกปุ่ม Start -> Run
4. พิมพ์คำสั่ง E:i386winnt32 /unattend แล้วคลิกปุ่ม OK
5. โปรแกรมติดตั้งจะเริ่มดำเนินการติดตั้งวินโดว์ให้คุณ ใหม่โดยยังคงรักษาค่าการทำงานต่างๆ เอาไว้เหมือนเดิม
(เค้า..ว่างั้นหล่ะครับ)

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิธีการเติมหมึก
   
    ตลับหมึก Canon PG810 and Canon CL811 cartridge
   
    Canon Pixma ip2770, Mp258, MP245, MP268, MP276, MP486, MP496
  
   Follow this steps:
   1. Remove the sticker on the print cartridge /แกะสติกเกอร์ออก
   2. Verify each colour on the cartridge / เทียบตำแหน่งหมึกดำและสีตามรูป
   
3. Drill a hole in the cartridge / เจาะรูให้ได้ขนาดใหญ่กว่าเข็ม ตามตำแหน่งของสี
   
4. Refill the cartridge according to correct colour / หมึกดำเติม 5 ซีซ๊. -หมึกสีเติมสีละ 3 ซีซี.เวลาเติมหมึกให้กดซริงค์ช้าๆ ป้องกันการล้นตัวของหมึกจากแรงดันอากาศ
   
.

วิธีเติมหมึก Laser HP Laserjet

วิธีเติมหมึก Laser HP Laserjet




วิธีการเติมหมึกคือ
1.  ถอดน็อตด้านข้าง ด้านที่มี chip ประมาณ 2 ตัวครับ
2.  หลังจากนั้นจะเห็นจุกสีขาวปิดช่องเติมหมึกอยู่ให้เอาจุกสีขาวออก
3.  เทหมึกของเก่าออกให้หมด แล้วเติมผงหมึกใหม่ลงไป
4.  เปลี่ยน chip ใหม่แล้วปิดฝาขันน็อตเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
ถ้าจะให้ดีควรทำความสะอาดห้องเก็บหมึกเสียด้วยอยู่ด้านบนชุดดรัมขันน็อต 2 ตัวเหมือนกันครับ ลองดูนะ


เติมหมึกและรีเซ็ท Brother TN-210/150
Brother HL-3040/4040 HL-4040CN/ HL-4050CN/ DCP-9040CN/ MFC-9440CN/ MFC-9840CDW/ DCP- 9042CDN/ MFC-9450CDN/HL-3040CN / HL-3070CW / MFC-9010CN / MFC-9120CN / MFC-9320CN


1.ตลับหมึกสองรุ่นนี้ทั้ง  TN-210 และ 150 สามารถเปิดจุกเติมได้ โดยต้องเอาผงหมึกเก่าออกให้หมดก่อนเติมเพื่อให้ผงหมึกไม่ปนกัน

2. ขั้นตอนการรีเซ็ท (สำหรับตลับที่มีเฟืองรีเซ็ท) สามารถรีเซ็ทได้โดยปรับเลื่อนเฟืองที่ตลับหมึก
 
3.  ถอดฝาด้านข้างตลับหมึกออก จะเห็น Flag gear ที่มีสปริงติดอยู่
4. ปรับเลื่อนเฟืองและสปริงให้อยู่ตำแหน่งดังภาพ
***หากตลับที่ไม่มีเฟือง สามารถรีเซ็ทได้ที่ตัวเครื่องโดยทำขั้นตอน ดังนี้
1. เปิดฝาเครื่องด้านหน้าออก (เครื่องจะขึ้นว่า Cover open )
2. กดปุ่ม Cancel ค้างไว้
3. กดปุ่ม Reprint - จะมีข้อความขึ้นว่า Reset part life
4. ขั้นตอนต่อไปเลือกตลับ(สี) ที่จะรีเซ็ท
    B.TNR-S  รีเซ็ทตลับสีดำ   ให้กดเครื่องหมาย  ^
       C.TNR-S  รีเซ็ทตลับสีฟ้า   ให้กดเครื่องหมาย  ^
    M.TNR-S  รีเซ็ทตลับแดง   ให้กดเครื่องหมาย  ^
    Y.TNR-S  รีเซ็ทตลับเหลือง   ให้กดเครื่องหมาย  ^
5. กดปุ่ม Cancel เพื่อออกจากเมนู
6. ปิดฝาหน้าเครื่อง

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

งานบริการคอมพิวเตอร์

ครื่องพีซี (Personal Computer :PC)

เครื่องพีซีถือเป็นหัวใจของระบบงานด้านมัลติมีเดีย โดยไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้จะต้องมีประสิทธิภาพ
ในด้านความเร็วของสัญญาณนาฬิกา (Clock Speed) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเครื่องที่ออกแบบมา
เพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดียจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสัญญาณภาพ และเสียงดีกว่า
ไมโครโพรเซสเซอร์ทั่วๆ ไป เช่น ซีพียูตระกูล MMX ของ Intel เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีหน่วยความ
จำของเครื่อง (Ram) มากพอที่จะใช้เก็บไฟล์ภาพที่มีขนาดใหญ่ได้และติดตั้งแผงวงจรเร่งความาเร็วการ
ประมวลผลภาพกราฟฟิค (Graphic Accelerator Board) นอกจากนี้ ยังต้องมีโครงสร้างทาง
สถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral Devices) ที่มีอัตราการสื่อสารข้อมูลที่
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพียงพอ ที่จะใช้จัดการเกี่ยวกับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่น
โดยไม่เกิดอาการกระตุกและมีสล็อตขยายที่แผงวงจรหลักเพียงพอสำหรับการต่อขยายระบบหรือ
อุปกรณ์สำหรับต่อพ่วงในอนาคต รวมทั้งมีหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์
ชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดความจุสูงและยังต้องมีจอภาพสีและแผงวงจรควบคุมการแสดงผลจอภาพที่สามารถ
แสดงภาพที่มีความละเอียดสูง
เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-ROM Drive)

เครื่องอ่านซีดีรองนับว่าเป็ฯส่วนประกอบที่สำคัญในการจัดเก็บข้อมูลและการนำเสนองานด้านมัลติมีเดีย
คุณสมบัติพื้นฐานของเครื่องซีดีรอมก็คือ ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งอัตราการส่งถ่ายข้อมูลเพื่อ
อำนวยความสะดวกในการจัดการเกี่ยวกับภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวที่ต้อง
แสดงผลของแต่ละภาพอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ปรากฎอาการภาพสะดุดหรือกระตุกที่เกิดจากการที่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ดึงข้อมูลภาพจากหน่วยจัดเก็บข้อมูลช้ากว่าการแสดงภาพ การเลือกใช้เครื่องอ่านซีดีรอม
จะพิจารณาจากจำนวนเท่าในการอ่านข้อมูล เช่น 52 เท่าหรือ 52x ซึ่งหมายถึงอัตราการส่งถ่ายข้อมูล
ทีได้จากการอ่านซีดีรอมนั่นเอง แผ่นซีดีรอมขนาด 5.25 นิ้วแต่ละแผ่นจะสามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง
700 MB(โดยประมาณ) หรือบันทึกสัญญาณเสียงได้นานประมาณ 80 นาที แต่ถ้าเป็นแผ่นซีดีรอม
ขนาดเล็ก 8 ซม. จะสามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 185 MB หรือบันทึกสัญญาณเสียงได้นาน
21 นาทีดั


ปัจจุบันได้มีการผลิตเครื่องอ่านซีดีรอม โดยใช้เทคโนโลยีดีวีดี (DVD ย่อมาจาก Digital Video Disc)
ทำให้แผ่นดีวีดีรอมแต่ละแผ่นสามารถบันทึกข้อมูลแบบความจุสูง(high Density) ได้ถึง 9.4 GB
จุดเด่นของเครื่องอ่านดีวีดีรอมก็คือ สามารถอ่านข้อมูลจากทั้งแผ่นดีวีดีแผ่นซีดีปกติได้ ในขณะที่เครื่อง
อ่านซีดีรอมไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีรอมได้ และพัฒนาการของเครื่องอ่านดีวีดีรอมยังคงมีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีการผลิตเครื่องอ่านแบบคู่ที่มีศักยภาพรองรับการอ่านและการ
เขียนแผ่นซีดีและดีวีดีภายในเครื่องเดียว ซึ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น

ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board)

ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board) หรือแผงวงจรเสียงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วน
หนึ่งของมัลติมีเดียพีวี มีหน้าที่หลักในการเก็บบันทึกเสียง และแสดงผลเสียงจากโปรแกรมสำหรับงาน
ด้านมัลติมีเดียโดยสามารถทำการบันทึกเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ เช่น ไมโครโฟน เครื่องดนตรี
หรือแหล่งกำเนิดเสียงอื่นๆ จากนั้นจะทำการแปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบของดิจิตอล ซึ่งสามารถ
เก็บไฟล์เสียงไว้ในหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง โดยสัญญาณดิจิตอลจากไฟล์เสียงเหล่านี้จะส่งกลับไป
ยังซาวนด์การ์ด เพื่อแปลงสัญญาณให้เป็นแบบอนาล็อก ทำให้สามารถได้ยินเสียงจากไฟล์ที่ทำการนำ
เข้าหรือบันทึกนั้นได้ด้วยอุปกรณ์แสดงผลทางเสียง เช่น ลำโพง หูฟัง
 
ลำโพงภายนอก (External Speaker)

ลำโพงภายนอก (External Speaker) เป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้มัลติมีเดียคอมพิวเตอร์สามารถเล่น
เสียงระดับไฮไฟที่มีคุณภาพได้ นอกจากความสามารถในการจัดการด้านเสียงของซาวนด์การ์ดแล้ว
ปัจจุบันได้มีผู้ผลิตลำโพงภายนอกที่มีขีดความสามารถที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังเพิ่มคุณภาพในหลาย
ระดับด้วยกัน เช่น ระดับธรรมดา ระดับคุณภาพสูงที่ประกอบด้วยทั้งลำโพงเสียงแหลม ลำโพงเสียงกลาง
และลำโพงเสียงทุ้ม เป็นต้น คล้ายกับระบบเครื่องเสียงชั้นดีทั่วไป ลำโพงภายนอกจึงจัดว่าเป็น
ส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียพีซีเนื่องจากการถ่ายทอดเสียงที่ชัดเจนและต้องครอบ
คลุมย่านความถี่เสียงได้หลากหลาย จนกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบมัลติมีเดียในยุคปัจจุบัน
ที่ขาดไม่ได้


ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)


ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับจัดการด้านมัลติมีเดีย ภายใต้โปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ที่ทำงานสัมพันธ์กับเครื่องพีซีและอุปกรณ์ประกอบ สามารถจำแนกซอฟต์แวร์ประยุกต์ตามลักษณะงาน
ได้ 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 1)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย (Application
Software for Multimedia Computer Assisted Instruction) เช่น Icon Author, Toolbook
และ Macromedia Authorware เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมนี้สามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า
โปรแกรมระบบสร้างสื่อการสอน 2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประเภทนำเสนองานมัลติมีเดีย (Application
Software for Multimedia Presentation) เช่น Macromedia Director MX, Shockwave และ
Macromedia Flash MX เป็นต้น


สำหรับองค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนของมัลติมีเดียพีซีตามที่ได้มาข้างต้น นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบขั้น
พื้นฐานของมัลติมีเดียพีซีที่สนับสนุนการใช้งานด้านมัลติมีเดียทั่วไป หากต้องการพัฒนางานมัลติมีเดีย
เฉพาะทาง เช่น ทำวีดีโอจำเป็นต้องขยายขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วง
พิเศษ เช่น ติดตั้งแผงวงจรจัดการเกี่ยวกับภาพเคลื่อนไหว (Video Capture Board) ติดตั้งเครื่อง
บันทึกและเล่นภาพวิดีโอ (Video Tape Recorder) เป็นต้น